จังหวัดลำพูน เข้าร่วมการประชุมสภาลูกเสือไทย ประจําปี 2567 รับนโยบายการพัฒนากิจการลูกเสือไทย จากรองนายกรัฐมนตรี

จังหวัดลำพูน เข้าร่วมการประชุมสภาลูกเสือไทย ประจําปี 2567 รับนโยบายการพัฒนากิจการลูกเสือไทย จากรองนายกรัฐมนตรี

     วันนี้ 29 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้นายโยธิน ประสงค์ความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เข้าร่วมการประชุมสภาลูกเสือไทย ประจําปี 2567ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น ห้องจูปีเตอร์(ชั้น 3) กรุงเทพมหานคร ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่สภานายกสภาลูกเสือไทย การประชุมสภาลูกเสือไทย ประจำปี2567 “นโยบายการพัฒนากิจการลูกเสือไทย” มีพลตํารวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กล่าวรายงาน

      นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กิจการลูกเสือในประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อปีพ.ศ. 2454 หลังการก่อตั้งของ “ลูกเสือโลก” เพียง 4 ปีเริ่มแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างนิสัยในการ สังเกต เชื่อฟัง และพึ่งพาตนเอง โดยต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต บำเพ็ญตน เพื่อสาธารณประโยชน์ตลอดจนรู้รักษาและส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศชาติ จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลาผ่านมาถึง 113 ปีแล้ว บริบทของโลก สังคม วัฒนธรรม และค่านิยม มีความเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่หัวใจของ กิจการลูกเสือ ก็ยังคงมีความเป็นสากล และทันสมัยอยู่เสมอ หากให้สรุปย่อ เหลือเพียงคำเดียว ก็คือการมี“จิตอาสา” ที่แปลเป็นการกระทำ คือ การบำเพ็ญประโยชน์ เมื่อวันที่2กุมภาพันธ์2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง เรื่อง การศึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงของ กระทรวงศึกษาธิการ ความว่า “ระบบการศึกษาต้องใช้ศรัทธาสร้างเด็ก เยาวชน เป็นผู้ใหญ่ที่ฝากบ้านเมือง งานของครูจะเป็นเรื่องยาก ช่วยก่อสร้างคนดีแก่บ้านเมือง ต้องสอนให้เด็กรู้ถูก รู้ผิดยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง ในเรื่องความเป็นชาติสถาบัน ประวัติศาสตร์การสร้างเด็กเพื่อเป็นคน ในอนาคตของชาติที่มีการศึกษา และพบว่าความคาดหวังในเด็กของ ประเทศไทย คือ ซื่อสัตย์รับผิดชอบ มีน้ำใจ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทาน “หลักสูตรลูกเสือ จิตอาสาพระราชทาน” มุ่งประสานทำความดีด้วยหัวใจ เพื่อส่งเสริม ให้ลูกเสือและบุคลากรทางการลูกเสือ ได้เสริมสร้างจิตสำนึกความเป็น พลเมืองที่เข้มแข็ง บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโครงการที่ทรงคุณค่า และมีประโยชน์ต่อสังคม ช่วยให้ลูกเสือ ได้เรียนรู้พัฒนาตนเอง รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้จักการทำงานร่วมกัน และยังช่วยส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็ง น่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องเป็นอย่างยิ่งกับ “ธรรมนูญของลูกเสือโลก” ที่ระบุว่า การลูกเสือมีหลักการสำคัญในการขับเคลื่อน คือ 1. ขบวนการลูกเสือเป็นขบวนการการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และเป็นไปโดยสมัครใจ โดยไม่จำกัดเพศ ศาสนา และเชื้อชาติ 2. วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือ คือ การมีส่วนร่วมในการ พัฒนาเยาวชน ในการบรรลุศักยภาพด้านร่างกาย จิตใจ ความรู้สึกทางสังคม และจิตวิญญาณที่เต็มเปี่ยม ในฐานะพลเมืองที่รับผิดชอบ และในฐานะ สมาชิกของชุมชนในท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

     แนวคิดสำคัญในการพัฒนากิจการลูกเสือไทย คือ “การบูรณาการ ความรู้ทางวิชาการ กับอุดมการณ์การลูกเสือ หลักการการลูกเสือ และ เจตนารมณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติให้เกิดผลเชิงประจักษ์ในสังคม” โดยต้องมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในด้านการจัดการศึกษาของประเทศ ในการพัฒนาเยาวชน ให้มีคุณธรรม ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย และสำนึกต่อแผ่นดิน และกำหนดเป้าประสงค์ของการส่งเสริมกิจการลูกเสือ ให้มีการพัฒนาหลักวิชาการที่สอดคล้องกับยุคสมัย ประยุกต์ใช้ได้จริง สามารถพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม ทักษะวิชาชีพ สำนึกการ ประกอบวิชาชีพ การดำรงชีพด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน และสร้างจิตวิญญาณแห่งความจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ในการขับเคลื่อนกิจการลูกเสือ จะต้องทำให้เกิดผลในเชิง ประจักษ์โดยต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด และสามารถนำผลการประเมิน ไปใช้ในการวางแผนการพัฒนาได้โดยกระบวนการบริหารจัดการกิจการ ลูกเสือ ต้องมีการออกแบบระบบ ในการสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคม เป็นการร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อส่งเสริมให้เกิดพลังของ เยาวชน ให้มีอุปนิสัย ซื่อสัตย์รับผิดชอบ มีน้ำใจ ด้วยวิธีการลูกเสือหรือ Scout Method ซึ่งเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมที่สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ โดยตอบสนองความต้องการ และความสนใจตามช่วงวัย มุ่งบ่มเพาะให้ เยาวชนมีคุณลักษณะที่ดีโดยเน้นกิจกรรมกลางแจ้งที่สนุกสนานสอดคล้อง กับยุคสมัย ทันการณ์และนำไปใช้งานได้จริง เพื่อช่วยเหลือตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

     ผมจึงขอนำนโยบายของสภาลูกเสือไทยให้ท่านได้ยึดถือปฏิบัติดังนี้ 1. ขับเคลื่อนโครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน มุ่งประสานทำ ความดีด้วยหัวใจ เน้นให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา คุณภาพสังคมไทยร่วมกัน โดยใช้กระบวนการลูกเสือ 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชน และสนับสนุนการจัดตั้งสภา เยาวชนลูกเสือแห่งชาติสภาเยาวชนลูกเสือจังหวัดทุกจังหวัดในอนาคต เพื่อให้เยาวชนลูกเสือมีพื้นที่แสดงความคิดเห็น ความต้องการและ ความคิดสร้างสรรค์รวมถึงการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ สอดคล้องกับ นโยบายการมีส่วนร่วมของเยาวชนในระดับการตัดสินใจของลูกเสือโลก ภายใต้แนวคิด “เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่สนับสนุน” 3. พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมลูกเสือทุกระดับ ทุกประเภท ให้ได้ มาตรฐานตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติและสอดคล้องกับ นโยบายหลักสูตรกิจกรรมเยาวชนลูกเสือโลก รวมทั้งกำหนดแนวทาง วิธีการจัดกิจกรรมลูกเสือให้เหมาะสมกับทุกระดับ และทุกประเภท 4. ผู้ใหญ่ในการลูกเสือ ต้องเป็นกำลังสำคัญในการเร่งขับเคลื่อน การพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ และเครือข่ายให้ได้มาตรฐานและ เกิดความเข้มแข็ง สามารถปฏิบัติงานได้ทันต่อเหตุการณ์ด้วยการทบทวน องค์ความรู้สร้างประสบการณ์เพิ่มเติมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง อีกทั้ง สอดคล้องกับ “นโยบายผู้ใหญ่ในการลูกเสือ” ของลูกเสือโลก 5. ดูแลความปลอดภัยจากการคุกคาม รวมถึงความปลอดภัยจาก อันตรายต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรมลูกเสือ ซึ่งรวมไปถึงการคุกคาม ทั้งจากผู้ใหญ่ และจากเยาวชนด้วยกัน โดยเป็นไปตาม “นโยบายความ ปลอดภัยจากการคุกคาม” ของลูกเสือโลก 6. พัฒนาและยกระดับค่ายลูกเสือและกิจการลูกเสือ ให้ได้ มาตรฐานสากล ด้วยการสำรวจตรวจสอบค่ายลูกเสือทั่วประเทศ เพื่อทำการ ปรับปรุง และพัฒนาค่ายลูกเสือและกิจการลูกเสือ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จังหวัดละ 1 แห่ง 7. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของลูกเสือ ด้วยการจัดให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีมีระเบียบรองรับการปฏิบัติงาน ที่เป็นธรรม โปร่งใสตรวจสอบได้รวมไปถึงการก่อตั้ง “ร้านลูกเสือ” (Scout Shop) เป็นกิจการที่ผลิตและจำหน่ายสินค้าลูกเสือ และของที่ระลึก ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อหารายได้มาสนับสนุนการจัด กิจกรรมของลูกเสือ ดำเนินการโดยสำนักงานลูกเสือแห่งชาติด้วยอำนาจ หน้าที่ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พุทธศักราช 2551 8. พัฒนาระบบ ระเบียบ วิธีการบริหารจัดการกิจการลูกเสือที่ดี มีคุณภาพ แบบมีส่วนร่วม ตามหลักธรรมาภิบาลและให้เป็นไปตามธรรมนูญ และนโยบายต่าง ๆ ขององค์การลูกเสือโลก ขอให้ท่านได้ร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายด้วยความรู้ความสามารถ จิตสาธารณะ และทำให้“กิจการลูกเสือไทย” มีความทันสมัยอยู่เสมอ ตามคำกล่าวที่ว่า“การลูกเสือเป็นกิจกรรมของเด็กแต่เป็นภารกิจของผู้ใหญ่”

-------------------------------------------------------------------------

ภาพ / ข่าว : นายชนาธิป เมืองมูล ส.ปชส.ลำพูน

บรรณาธิการ : นางสาวมัณฑนา อาษากิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน

ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นางสาวกนกรัตน์ ปัญญา นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar