มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ (บทความที่ 6 ประจำเดือน พฤศจิกายน 2565)

มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้

โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ของจังหวัดลำพูนเกิดขึ้นในพื้นที่นำร่องที่ ต.ป่าซาง อ.ป่าซาง โดยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ป่าซาง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัย ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพการให้บริการของสถานบริการสาธารณสุข และส่งเสริมบทบาทให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครที่ดูแลแม่และเด็กในนาม "มิสนมแม่" หรือ "มีส 1,000 วัน" โดยการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผสานความร่วมมือในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนให้เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในชุมชน สอดรับกับนิยามของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่ว่า “คนไทยมีปัญญาเฉียบแหลม มีทักษะที่เห็นผล มีสุขภาพแข็งแรงและมีจิตใจที่งดงาม” ต้องเริ่มจากการพัฒนาทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนคลอดและเจริญเติบโตครบ 2 ปีบริบูรณ์ ครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาจังหวัดลำพูน ที่ 4 เมืองแห่งความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างเมืองแห่งการศึกษาและเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคลในทุกช่วงวัย ที่มุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนา ตั้งแต่ช่วงการตั้งครรภ์ ปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น วัยแรงงานและวัยผู้สูงอายุ สร้างสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่หลากหลายในการดำเนินชีวิต

โดย สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน 
โครงการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์จังหวัดลำพูน ประจำปีงบประมาณ 2566


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar