สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มช. จัดสัมมนาเรื่อง ลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดลำพูนให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ 

สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มช. จัดสัมมนาเรื่อง ลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดลำพูนให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ 

     วันที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 1 โรงแรม GRAND PA HOTEL & RESORT LAMPHUN นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน มอบหมายให้ นายอนุพงษ์ วาวงศ์มูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานพิธีเปิดงานสัมมนา "Forum 2023: NEC Lamphun Moving Forward Together" อนาคตลำพูนกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) โดยมี รองศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน

     รองศาสตราจารย์วงกต วงศ์อภัย รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor:NEC) เป็นโครงการนำร่องการพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และลำพูน เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ต่อยอดจากฐานวัฒนธรรมล้านนาเนื่องจากภาคเหนืออุดมไปด้วยอารยธรรมและอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่ยาวนาน จึงเหมาะต่อการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตลอดห่วงโซ่มูลค่า เพื่อต่อยอดให้เกิดการผลิต การบริการ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่
     จังหวัดลำพูนเป็นหนึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ มีภูมิศาสตร์ทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ที่เชื่อมต่อทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบินกับจังหวัดต่างๆ เป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์อุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ทำให้เกิดการจ้างงาน และส่งผลให้รายได้ต่อประชากร/GDP อยู่ในระดับสูงของประเทศ มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรรม/นิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ เป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของภูมิภาคจากแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (ปี 2566 - 2570 ) ได้กำหนดพันธกิจใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) LAMPHUN SMART HERITAGE CITY 2) LAMPHUN CREATIVE LANNA 3) LAMPHUN FOOD VALLEY และ 4) LAMPHUN GREEN CLEAN AND CARE CITY ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยเศรษฐกิจ BCG ภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green Economy Model เป็นแนวคิดหรือหลักการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจแบบโดยรวม โดยที่ไม่มุ่งเน้นเพียงแต่การพัฒนาในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สมดุล ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมภายในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อมกัน โดยจะเกิดการกระจายรายได้ลงสู่พื้นที่ชนบทซึ่งลดความเหลื่อมล้ำ ส่งผลให้ชุมชนและพื้นที่ชนบทเกิดความเข้มแข็ง โดยมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

     ด้าน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า จังหวัดลำพูนได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า : ลำพูนเมืองอัจฉริยะ สร้างสรรค์ บนความพอเพียง (LAMPHUN Sufficiency Creative Smart City) คือ เป็นเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ชุมชนสมดุล สร้างสรรค์ บนความพอเพียงที่ยั่งยืน โดยกำหนดรูปแบบในการพัฒนา คือ LAMPHUN Model ประกอบด้วย 1. L เมืองน่าอยู่สรรค์สร้างสังคมแห่งความสุขอย่างยั่งยืน (Livable and Sustainable) 2. U เมืองเกษตรสุขภาพ และเกษตรนวัตกรรมสร้างสรรค์ (Agriculture for Health and Creative Innovation Agriculture) 3. M เมืองอุตสาหกรรมหลากหลาย อุตสาหกรรมเกษตร หัตถกรรมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Multi - Industry City - Industrial Agriculture, Handicrafts and Creative Industries) 4. P เมืองพอเพียงและชุมชนเข้มแข็ง (Philosophy of Sufficiency Economy & Strong Communities ) 5. H เมืองท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมและอัตลักษณ์วิถี ท่องเที่ยวเชิงกีฬา และสุขภาพ(Heritage Tourism & Sports and Wellness Tourism) 6. U เมืองอารยะสถาปัตย์ และเมืองอัจฉริยะ และการเชื่อมโยงระบบระบบขนส่ง (Universal Design & Smart City & Logistics Link) 7. N เมืองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Nature & Environment)
     ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสัมนาในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนจังหวัดลำพูนไปสู่พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือต่อไป.

ภาพ/ข่าว นายอานนท์ บุญมาตุ้ย ผู้สื่อข่าว ส.ปชส.ลำพูน
บรรณาธิการ : นางสาวมัณฑนา อาษากิจ ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar